Tag Archives: ธรรมเนียมปฏิบัติของญี่ปุ่น

มารยาทและธรรมเนียมปฏิบัติของญี่ปุ่น

การใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือมารยาท และธรรมเนียมปฏิบัติของญี่ปุ่น เรื่องเหล่านี้ต้องค่อยๆ เรียนรู้และฝึกจนเป็นนิสัยไปทีละเล็กละน้อย ในการใช้ชีวิตแต่ละ วันที่ญี่ปุ่นเวลานัดกับใครต้องรักษาเวลา เมื่อไปไม่ได้หรือไปไม่ตรงตามนัดต้องแจ้งให้ ทราบล่วงหน้า ถ้าไม่รักษาสัญญาจะทำให้อีกฝ่ายขาดความเชื่อถือ และตอนแรก ๆ คนญี่ปุ่นมักจะไม่ค่อยคุยด้วยเนื่องจายังไม่คุ้นเคยกัน แต่เมื่อสนิทกันแล้วก็จะยอมรับ และเปิดใจมากยิ่งขึ้น คนญี่ปุ่นมักจะมีเพื่อนหลายกลุ่ม ในหนึ่งวันเขาอาจจะพบเพื่อนจากที่โรงเรียน ที่ทำงาน เพื่อนเที่ยวแตกต่างกันไปทั้งวัน ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงดูไม่ค่อยสนิทกันมากนัก และโดยปกติผู้ชายญี่ปุ่นมักจะทำงานหนักไม่ว่าจะก่อน หรือหลังแต่งงาน และมักจะทำงานกันจนดึกจนดื่นจนคล้ายกับว่าไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว เพราะเป็นวัฒนธรรมการทำงานของคนญี่ปุ่นก็ว่าได้ที่ทุกคนจะต้องทุ่มเทกับงานให้เต็มที่

สังคมของคนญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญต่อกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มโดยมีสถานที่เป็นตัวบ่งบอกคนที่อยู่อาศัยในที่เดียวกันหรือทำงานในที่เดียวกันนั้นถือว่าเป็นพวกเดียวกันเรียกว่า(อุชิ) และสำหรับคนที่อยู่ต่างสถานที่ต่างบริษัท ต่างประเทศจะถือว่าเป็นคนนอกหรือคนอื่นเรียกว่า(โซโตะ) คนญี่ปุ่นจะใช้ภาษาและการปฎิบัติตนที่แตกต่างไปจากต่อคนที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน โดยจะใช้ภาษาที่สุภาพและการถ่อมตนกับผู้ที่เป็นผู้อื่น แม้ว่าตนเองจะไม่รู้สึกยกย่องคนๆนั้นก็ตาม การใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นลักษณะความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่นในสังคมได้ว่าคู่ที่สนทนาอยู่มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ใครอาวุโสกว่าใครหรือสนิทสนมกันแค่ไหนเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนละกลุ่มเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย การใช้ภาษาในการพูดของคนญี่ปุ่นนั้นเมื่อพูดเรื่องของตนเองรวมไปถึงการกล่าวถึงสิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับตนเองแล้วคนญี่ปุ่นจะต้องใช้คำถ่อมตนเมื่อพูดกับคนอื่น และคำยกย่องเพื่อยกย่องคู่สนทนาด้วย

การให้ความสำคัญกับบุคคลอื่นในสังคมเป็นลักษณะเด่นของคนญี่ปุ่น ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของผู้อื่นอย่างมาก ในการใช้ภาษา การแสดงความใส่ใจของคู่สนทนา เช่นการใช้ถ้อยคำและกริยาต่างๆสอดแทรกเพื่อแสดงความสนใจต่อคู่สนทนา หรือพูดประโยคลอยๆค้างไว้เพื่อให้คู่สนทนามีโอกาศได้สอดแทรกสานประโยคให้จบซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนามีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนพูดด้วย หรือการพูดแบบอ้อมค้อมไม่ชี้บ่งบอกอะไรไปตรงๆ หรือละความเอาไว้ให้ผู้สนทนาด้วยคิดเอาเอง และในการสนทนากับคนญี่ปุ่นจะเป็นการเสียมารยาทมากถ้าเราไม่เอ่ยถึงการกระทำของผู้นั้นที่ส่งผลดีต่อเราและต้องใช้สำนวนที่รู้สึกสำนึกบุญคุณต่อการกระทำนั้นๆด้วย เช่นขอบคุณที่ได้เกื้อหนุนอุ้มชูเราอยู่เสมอ หรือ วันก่อนต้องขอขอบพรคุณมาก (อาจจะไม่ได้ทำอะไรให้) แต่เป็นมารยาทที่ควรจะพูดตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น